วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จัดสวนสวยในบ้านด้วยตัวเอง

          บ้านที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว สวย สะอาดตา มีการจัดระเบียบสิ่งต่างๆที่ลงตัว หากผู้คนที่ผ่านไปมาหรือแม้แต่ตัวเจ้าของบ้านเองเห็นก็ทำให้หัวใจพองโต รู้สึกสดชื่น และทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี วันนี้เรามาพูดถึงการจัดแต่งสวนในบ้านนั่นเอง ลองมองดูว่าเราจัดสวนให้ดูสวยงาน มีระเบียบ เพื่ออะไรกัน
เรามาพูดถึงการแต่งสวนหน้าบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยเลย นอกจากจะได้สวนหน้าบ้านสวยๆไว้สำหรับผ่อนคลายอารมณ์แล้วยังช่วยลดความตึงเครียดจากการทำงานได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันการแต่งสวนหน้าบ้านมีหลากหลายรูปแบบ และมีตัวอย่างแนวคิดใหม่ๆให้เราเลือกดูมากมาย วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการตกแต่งสวนก็มีเยอะแยะมากมาย แม้แต่ของเหลือใช้บางก็นำมาเป็นไอเดียในการตกแต่งสวนได้ ไม่ว่าพื้นที่ของเราจะเล็กหรือใหญ่ จะแคบหรือยาว และไม่ว่าจะมีข้อจำกัดอย่างไร การแต่งสวนหน้าบ้านก็สามารถแก้ไขและปรับปรุงให้ดีได้ เพราะสวนสวยนั้นเปรียบเสมือนหน้าต่างบานแรกของบ้าน ถ้าหากเราจัดแต่งไม่ดี ภาพที่เห็นคงดูเหงาหงอยไม่สบายตาเหมือนกัน วันนี้เราเลยมีเคล็ดลับดีดีสำหรับแต่งสวนหน้าบ้านมาให้ดูกัน คุณๆดูแล้วลองนำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดแต่งสวนหน้าบ้านดูนะคะ

วัตถุประสงค์ของการจัดสวน
1.เพื่อความสวยงาม การจัดสวนลักษณะนี้ไม่เน้นประโยชน์ใช้สอย แต่เป็นการจัดสวนประกอบอาคารให้ดูดีเท่านั้น
2.เพื่อการพักผ่อนส่วนตัว ควรจัดสวนอยู่ในมุมที่ไม่ประเจิดประเจ้อ
3.เพื่อต้อนรับแขก  เสมือนเป็นห้องรับแขกภายนอกจึงควรจัดสวนให้มีความสะดวกพอสมควร
4.เพื่อการออกกำลังกาย เช่น การจัดสวนบริเวณรอบสระว่ายน้ำ การจัดสวนสนามแบดมินตัน การจัดสวนสนามเทนนิส
5.เพื่อบริโภค การจัดสวนลักษณะนี้ไม่ควรจัดสวนบริเวณหน้าบ้าน และควรมีแสงแดดเพียงพอ

การเลือกรูปแบบการจัดสวนโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ
1.สวนแบบประดิษฐ์ (FORMAL STYLE) เป็นการจัดสวนที่มีความสมดุลกันแบบประดิษฐ์ ซ้าย - ขวาเท่ากัน การจัดสวนลักษณะนี้มักมีรูปแบบเรขาคณิต อาจมีน้ำพุหรือรูปปั้นขนาดเหมือนจริง การจัดสวนแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ตกแต่งสภาพพื้นที่รอบอาคาร
 2.สวนแบบธรรมชาติ (INFORMAL STYLE) เป็นการจัดสวนที่มีรูปลักษณ์อิสระ สีสันไม่ฉูดฉาด เช่น การจัดสวนป่า  การจัดสวนบาหลี การจัดสวนบาหลี การจัดสวนญี่ปุ่น เป็นต้น







องค์ประกอบทางศิลปะที่นำมาใช้ในการจัดสวน
องค์ประกอบหลักที่เป็นจุดสนใจ การจัดสวนลักษณะนี้ควรสร้างจุดเด่นด้วยองค์ประกอบหลัก ซึ่งอาจเป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงงดงาม ก้อนหิน ประติมากรรมน้ำตก น้ำพุ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มความสนใจให้กับสวน
องค์ประกอบรองที่เป็นจุดสนใจรอง ในกลุ่มหรือบริเวณจุดสนใจมักมีจุดสนใจรองประกอบด้วย เพื่อความสวยงามและสมดุลในความรู้สึก เช่น จุดสนใจหลักเป็นไม้ยืนต้นสูง จุดสนใจรองก็อาจเป็นไม้ยืนต้นที่เตี้ยกว่า หรือเป็นกลุ่มพันธุ์ไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
จุดนำสายตา การจัดสวนที่ดี จึงจำเป็นต้องมีสิ่งนำสายตาเพื่อเน้นให้เกิดมุมมอง เพื่อความสมบูรณ์ของภาพ อาจเป็นแนวทางเดิน แนวต้นไม้ เพื่อนำสายตาไปยังจุดเด่นของสวนนั้น
ฉากหลังและฉากหน้า  การจัดสวนบางพื้นที่อาจจะมีฉากหลังหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และรูปแบบของสวน ฉากหลังของสวนอาจเป็นผนังอาคาร ผนังรั้ว หรือแนวต้นไม้ริมรั้ว ส่วนฉากหน้าอาจเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความอ่อนช้อย โปร่งเบา ไม่หนาทึบบังตา ทำหน้าที่เสมือนกรอบรูป ถือเป็นเสน่ห์ที่ชวนมอง
การให้น้ำต้นไม้
ควรให้อย่างสม่ำเสมอ โดยควรให้ในช่วงเช้าหรือเย็นที่มีแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อให้ต้นไม้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ควรให้ช่วงเที่ยงหรือบ่ายที่แดดจัด เพราะอาจทำให้ต้นเล็ก ๆ ตายได้
การใส่ปุ๋ยสนามหญ้า
ในการจัดสวน ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโต จะทำให้สนามหญ้ามีสีเขียวสวยงาม หากขาดปุ๋ย หญ้าก็มีใบสีเหลือง ต้นหญ้าจะแคระแกร็น ปุ๋ยที่ใช้ควรใส่ธาตุอาหาร N-P-K หรือเท่ากับ 3-1-2 หรือสูตร 30-10-20  โดยใส่ 1-2 เดือน/ครั้ง โดยการหว่านหรือละลายน้ำรด ควรให้อย่างสม่ำเสมอทั่วสนาม หลังให้ควรรดน้ำตาม เพื่อล้างปุ๋ยที่ติดอยู่ที่ใบของหญ้า เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดรอยไหม้
องค์ประกอบทางศิลปะที่ช่วยสร้างรูปลักษณ์ของสวนให้เกิดจุดเด่นสวยงาม
ความสมดุล การจัดสวนแบบประดิษฐ์มักใช้ความสมดุลแบบสมมาตร คือทำเหมือนกันทั้งซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง  ส่วนการจัดสวนแบบธรรมชาติ อาจใช้ความสมดุลของน้ำหนัก การจัดวางองค์ประกอบในสวน
สัดส่วนและจังหวะ การจัดสวนที่ดีความอาศัยความสมดุล สัดส่วน ปริมาณ ต้นไม้ที่เหมาะสม
ความกลมกลืนและความขัดแย้ง ความกลมกลืนจะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพ ซึ่งความเป็นเอกภาพจะช่วยสร้างจุดเด่นขึ้นมา อย่างเราปลูกไม้คลุมดินสีขาวเป็นกลุ่มใหญ่ก็จะกลายเป็นจุดเด่น แต่หากเรานำโอ่งดินเผาวางลงไปในแปลง สีขาวของไม้คลุมดินจะตัดกับสีน้ำตาลของโอ่งดินเผา ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่าการสร้าง ความขัดแย้งความขัดแย้งดังกล่าวช่วยสร้างให้โอ่งดินเผาดูเด่นขึ้นมาและเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เราสามารถสร้างความขัดแย้งได้หลายวิธี เช่น ขัดแย้งด้วยสี ด้วยผิวด้วยขนาด ด้วยทิศทาง ฯลฯ
สีและผิวสัมผัส การใช้สีช่วยให้เกิดความหลากหลายและสวยงาม เหมือนการระบายสีรูปภาพบนกระดาษ นอกจากสีของดอกไม้ใบไม้แล้ว อาจใช้สีของวัสดุแต่งสวนเพื่อสร้างจุดเด่นให้สวน ส่วนความหยาบละเอียดของใบไม้แต่ละชนิดก็คือผิวสัมผัส ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง เช่น ใบไม้ขนาดใหญ่กับใบเล็กละเอียดความแตกต่างตรงนี้คือจุดเด่นนั่นเอง




1 ความคิดเห็น:

  1. ดีครับ จะได้เป็นแนวทางให้กับคนที่อยากจัดสวนด้วยตัวเอง

    ตอบลบ