วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์(New Zealand Curriculum)


โครงสร้างทางการศึกษา
นิวซีแลนด์เปนประเทศที่ตั้งอยูบนเกาะทางตอนใตของประเทศออสเตรเลีย    มีประชากรประมาณ 3  ลาน 6 แสนคน พลเมืองมี 2 กลุมใหญ คือ ชนพื้นเมืองเรียกวา เมารี และชนผิวขาวซึ่งเปนผูอพยพมาจากยุโรป
การจัดการศึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญา การศึกษาเพื่อชีวิตภายใตัหลักการ การกระจายอำนาจทาง การศึกษา (Decentralization of Education) การมีสวนรวมของประชาชน ( A Charity Communication) และการตรวจสอบและถวงดุลย (Check and Balance)”




นิวซีแลนด์เปนประเทศหนึ่งที่ไดชื่อวาประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาเปนอยางมาก โดยจุดเดนของความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา คือ การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาลงสูสถานศึกษา การยกเลิกระบบการบริหารการศึกษาแบบเดิม  แลววางรูปแบบในการบริหารการศึกษาในรูปแบบใหม   การให้ประชาชนและชุมชนเขามามีสวนรวมและกำหนดแนวทางในการบริหารการศึกษา
ในเรื่องของการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา   มีการลดขั้นตอนทางการบริหารเหลือเพียง   2 ระดับ  คือ ระดับกระทรวง มีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เปนหนวยบริหารงานกลางของกระทรวง มีหนาที่เกี่ยวกับการเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาทุกระดับ จัดสรรงบประมาณสนับสนุน สงเสริมและประสานงานใหการจัดการศึกษาเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและเกิดประสิทธิผล และระดับสถานศึกษา สถานศึกษาทุกระดับตั้งแตระดับประถมศึกษาจนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย  จะมีความเปนอิสระในการจัดการศึกษาของตนเอง ในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน  (Board of Trustees)   เปนองคกรบริหารและมีอาจารยใหญ (Principal)      เปนผูบริหารโรงเรียน  ซึ่งมาจากการจางโดยการสรรหาและ แตงตั้งจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน



โครงสร้างการบริหารการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์





หลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ


รัฐบาลกำหนดนโยบายทางการศึกษา ซึ่งเรียกว่า แนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา ( National Education Guidelines )ขึ้น กระทรวงศึกษาธิการนำนโยบายดังกล่าวมากำหนดเป็นกรอบหลักสูตรแห่งชาติ ( National Education Framework ) แล้วส่งให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติในการจัดการศึกษาต่อไป
แนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1989 มีเนื้อหาสาระดังนี้
  1. นักเรียนทุกคนต้องได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานสูงสุด
  2. ทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา
  3. ทุกคนได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ เพื่อความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก
  4. เด็กทุคนต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ตั้งแต่พื้นฐานในครอบครัว
  5. ทุกคนต้องได้รับการศึกษาที่กว้างขวาง ครอบคลุมทุกสาขาวิชา
  6. มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน
  7. เด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการดูแล และสนับสนุนที่เหมาะสม
  8. ต้องมีแหล่งวิชาการ และการเตรียมการที่ดี
  9. ส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชนเผ่าเมารี
  10. มีความนับถือชาติ เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของชาวนิวซีแลนด์


หลักสูตรทางการศึกษา
 
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศนิวซีแลนด์ได้กำหนดกรอบหลักสูตรแห่งชาติ ( New Zealand Curriculum Framework ) ให้สอดคล้องกับแนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา  โดยประกอบด้วย  การเรียนรู้ 7 สาขาทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ 8 ข้อ และเจตคติและค่านิยมที่ประชากรพึงมี
หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในประเทศนิวซีแลนด์  แบ่งออกเป็น  3 ระดับ

นิวซีแลนด์เน้นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน  และเรียนรู้ในการปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง


รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ประชากรของนิวซีแลนดที่มีอายุ 15 ปขึ้นไป มีอัตราการรูหนังสือสูงถึงรอยละ 99 (สามารถอานและเขียนได : ขอมูลป ค.ศ. 1980) การศึกษาภาคบังคับของนิวซีแลนด์ยึดอายุเปนเกณฑ การเลื่อนชั้นเปนไปตามอายุ ทุกคนจะตองเขาเรียนตั้งแตอายุ 6 ป จนถึงอายุ 16 ป (ขอมูลจาก Structure of the Compulsary Schools in New Zeland) จึงจะออกจากโรงเรียนได   ซึ่งรวมแลวจะตองใชเวลาเรียนในโรงเรียนอยางนอย 12 ป แตการเรียกชื่อระดับชั้นตางๆแตกตางกับที่ใชกันโดยทั่วไปในประเทศอื่น  โดยมีการจัดระดับและเรียกชื่อ ดังนี้
  1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (early childhood education)  เปนการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 3-4 ขวบ มีรูปแบบในการจัดหลายรูปแบบ ไดแก
    • โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten)
    • ศูนยเด็กเลน (Playcenter)
    • ศูนยดูแลและสอนภาษาเด็กเล็กสำหรับชาวเมารี (Te Kohanga Reo)
    • ศูนยเด็กกอนวัยเรียน (Child center)
  2. การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา เปนการศึกษาสำหรับนักเรียน อายุ 5-10 ป โดยชั้นเรียน สำหรับเด็กอายุ 5 -6 ป เรียกวา Junior 1 และ Junior 2 ตามลำดับ สวนนักเรียนอายุ 7-10 ป  เรียกว่า ระดับ Standard 1-4 ตามลำดับ โรงเรียนประถมศึกษาบางแหงมีชั้นเรียนที่มีนักเรียนอายุ 11 - 12 ป ซึ่งเปนนักเรียนระดับมัธยมศึกษารวมอยูดวย  ระดับนี้เรียกวา Form 1 และ Form 2 ในบางโรงเรียนมีการจัดเฉพาะ ชั้น Form 1 และ Form 2 ตางหาก ซึ่งจะเรียกโรงเรียนประเภทนี้วา Intermediate School
  3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา  เปนการศึกษาสำหรับนักเรียนอายุ 11-16 ป  โดยโรงเรียนบางแหง     เปดสอนตั้งแตระดับมัธยมศึกษาตอนตน ซึ่งไดแก นักเรียนอายุ 11-12 ป แตบางแหงเปดสอนเฉพาะนักเรียนอายุ 13-16 ป  เรียนในชั้น Form 3 - Form 6 ซึ่งเรียกวา ระดับ High School
  4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education) การศึกษาระดับนี้จัดโดยสถาบันฝกอาชีพ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การจัดการศึกษาของสถาบันฝกอาชีพชั้นสูงและวิทยาลัยนั้น  สวนใหญเนนการฝกทักษะอาชีพชั้นสูง  การเสริมสรางพัฒนาการทาง ความรูเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเปนอยูของนิวซีแลนดทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สวนการศึกษาในมหาวิทยาลัยมุงใหความรู้  ทักษะการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกตที่พัฒนาประเทศ


ตารางแสดงอายุและระดับชั้นเรียนของนักเรียนในประเทศนิวซีแลนด


อายุ ระดับชั้น
จบ Form 6 และมีอายุ 25 ปขึ้นไป หรือ มหาวิทยาลัย , วิทยาลัย
สอบผาน Form 7 สถาบันฝกอาชีพชั้นสูง หรือสารพัดชาง
17 Form 7 *  เตรียมเขามหาวิทยาลัย
16 Form 6    ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
15 Form 5 *  (Senior or Secondary School)
14 Form 4
13 Form 3
12 Form 2    ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
11 Form 1  (Intermediate School)
10 Standard 4
9 Standard 3
8 Standard 2  ระดับประถมศึกษา
7 Standard 1  (Primary School)
6 Junior 2
5 Junior 1
4 Early childhood  ระดับกอนประถมศึกษา
3 Education


หมายเหตุ
1)  ในการเลื่อนระดับชั้นใชวิธีการเลื่อนตามกลุมอายุ ไมมีการสอบอยางเปนทางการเพื่อเลื่อนชั้น
2)  Form 5 และ Form 7    มีการสอบโดยใชขอสอบกลางของประเทศ   โดย Form 7   เปนการสอบเพื่อเรียนตอในมหาวิทยาลัย
3)  การแยกระดับโรงเรียนไมมีการแยกกันอยางตายตัวโรงเรียนประถมศึกษาสวนใหญมีการสอนระดับกอนประถมศึกษา และมีหลายแหงที่เปิดสอนชั้น Form 1 Form 2 หรือ ระดับ Intermediate รวมอยูดวย ซึ่งโรงเรียนแตละแหงมีอิสระที่จะพิจารณาเปดเรียนถึงระดับใดก็ได้
4)  การศึกษาภาคบังคับ อายุระหวาง 6-16 ป และหากนักเรียนคนใดจบ Form 5 แลว     หากอายุยังไมครบ 16 ป จะตองเรียนชั้น Form 6 ตอ


รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ


        
ระบบการศึกษาทั่วไป
การจัดการเรียนการสอนใน Year 1-8  จะเน้นและให้ความสำคัญกับ การอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น (Litteracy and Numeracy) และใช้กิจกรรม ศิลปะ ดนตรี และกีฬา เป็นแกนในการบูรณาการการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เด็กจึงไม่เครียดกับการเรียน  
            ขนาดของห้องเรียนจะมีนักเรียนไม่เกิน 25 คน จึงสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างดีและทั่วถึง  ถ้าครูใหญ่มีงานล้นมือเกินไปก็สามารถจ้างคนอื่นมาช่วยได้   เขาจะมีความคล่องตัวในการจ้างครู
             
ประเภทของโรงเรียน แบ่งได้ดังนี้
             1. Primary School  สำหรับเด็กอายุ 5-10 ปี หรือ 5-12 ปี
             2. Intermediate School  สำหรับเด็กอายุ 11 และ 12 ปี
             3. Secondary School  สำหรับเด็ก 13-19 ปี
             4. Composite School  เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนทั้งประถมและมัธยมในโรงเรียนเดียวกัน
            5. Kura Kaupapa Maori  เป็นโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาเมารี
            6. Special School  เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กที่ต้องให้บริการพิเศษ เช่น The Correspondence School ที่ให้การศึกษาทางไกล หรือให้การศึกษาสำหรับเด็กทุกประเภท เช่น ต้องติดตามพ่อแม่ ผู้ปกครอง  เด็กถูกทอดทิ้ง  เด็กชาวเกาะ เป็นต้น
            7. Integrated School  คล้ายโรงเรียนในกำกับของรัฐ ที่ดูแลด้วยตนเองส่วนหนึ่งและรัฐเข้าไปสนับสนุนส่วนหนึ่ง ซึ่งมีหลากหลายประเภท
            8. Private School  คือโรงเรียนเอกชน

การศึกษาระดับประถมศึกษา (PRIMARY EDUCATION)
เป็นการศึกษาภาคบังคับ เริ่มรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับประถมศึกษา แบ่งเป็น 6 ขั้นคือ
  1. STANDARD 1
  2. STANDARD 2
  3. STANDARD 3
  4. STANDARD 4
  5. FORM 1 (STANDARD 5)
  6. FORM 2 (STANDARD 6)
ปกตินักเรียนจะศึกษาจนสำเร็จ FORM 2 เมื่ออายุประมาณ 12 ปี โดยใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้น 8 ปี
หลักสูตรการศึกษาระดับประถมศึกษา ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ (เขียน อ่าน พูด ตัวสะกด และคัดลายมือ) คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปะและการฝีมือ วิทยาศาสตร์ พลศึกษา สุขศึกษา และดนตรี ในชั้น FORM 1 และ 2  จะมีสอนวิชาคหกรรมศาสตร์และช่างฝีมือ และอาจมีสอนภาษาฝรั่งเศสด้วย


การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (SECONDARY EDUCATION)
เริ่มตั้งแต่ FORM 3 หรือ YEAR 9 นักเรียนอายุประมาณ 13 ปี  โรงเรียนมัธยมมี 400 กว่าแห่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
  1. โรงเรียนรัฐบาล
  2. โรงเรียนกึ่งรัฐบาล ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และศาสนา
  3. โรงเรียนเอกชน มักเป็นโรงเรียนของศาสนา
โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนมีจำนวนน้อย และมักจะรักษาประเพณีทางศาสนาและปรัชญาเฉพาะของตนไว้ โรงเรียนเอกชนมีเสรีภาพในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน แต่อย่างไรก็ตามทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนต่างมีหลักสูตร และมาตรฐานศึกษา ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครคล้ายคลึงกัน และมีจุดประสงค์เดียวกันคือเตรียมให้นักเรียนมีคุณสมบัติที่เหมาะสม สามารถสอบได้คุณวุฒิระดับมัธยมศึกษาที่รัฐกำหนด
        


การเรียนและการสอบ
FORM 3 และ 4 นักเรียนเรียนวิชาตามหลักสูตรบังคับ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และพลศึกษา  และเลือกวิชาเลือกดังต่อไปนี้ ศิลปะ ดนตรี ภาษาเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์
FORM 5 นักเรียนจะเริ่มเลือกเรียนวิชาเฉพาะตามความถนัดของตน   โดยยังคงต้องเรียนวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ส่วนวิชาเลือกมี ศิลปะ พาณิชยศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา เมื่อจบ FORM 5 นักเรียนจะต้องสอบข้อสอบกลาง ที่เรียกว่า SCHOOL DERTIFICATE จัดสอบโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยนักเรียนอาจสอบได้ถึง 6 วิชา    ซึ่งบางวิชาทางโรงเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเอง  นักเรียนที่สอบ   SCHOOL CERTIFICATE ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะเข้าไปเรียนต่อ  FORM 6
FORM 6 นักเรียนต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และเลือกวิชาอื่นๆ อีก 4 หรือ 5 วิชา เป็นวิชาที่มุ่งว่าจะไปเรียนสาขาใดในระดับอุดมศึกษา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
เมื่อจบ FORM 6 นักเรียนจะได้รับ SIXTH FORM CERTIFICATE นักเรียนที่ผลการเรียนดีและต้องการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ก็จะเข้าเรียนต่อ FORM 7
FORM 7 เป็นเสมือนชั้นเตรียมมหาวิทยาลัย  ในชั้นนี้จะไม่มีวิชาบังคับ นักเรียนเลือกวิชา 46 วิชา ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษา
เมื่อจบ FORM 7 นักเรียนจะได้รับ HIGHER SCHOOL CERTIFICATE สิ่งสำคัญของนักเรียน FORM 7 ก็คือการสอบ BURSARY AND SCHOLARSHIP EXAMINATIONS เพื่อใช้ผลการสอบในการสมัครเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและการรับทุน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น