เสียง Beep Beep บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นสื่ออะไร
หลายๆคนคงสงสัยและยังไม่รู้ว่า ไอ่เสียง บิ๊บๆๆ ที่ดังหลังจากการกดปุ่มสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์มันคือเสียงอะไร? นั่นสิเสียงอะไรละ ถ้าจะกล่าวแบบละเอียดคงนั่งเขียนจนไม่หวาดไม่ไหวเอาเป็นว่าเราจะมาสรุปว่าไอ่เสียง บิ๊บๆๆ ที่ดังนั้นมันคือเสียงอะไรกันแน่เสียงที่ดังบิ๊บๆๆ หลังจากการกดปุ่มเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Laptop , Notebook หรือ Desktop Computer นั้นถ้าเป็นภาษาช่างคอมพิวเตอร์ เค้าเรียกว่ารหัส Beep Code เป็นสัญญาณเสียงของคอมพิวเตอร์ที่ส่งออกมาจาก Bios ที่อยู่บน Mainboard รหัสเหล่านั้นจะมีมากมายหลายเสียง แต่ละเสียงก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามอาการป่วยของคอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นทำให้การซ่อมเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า Mainboard จะใช้ยิ่ห้อ Bios ยี่ห้ออะไรด้วย บทความนี้จึงขอกล่าวถึงเสียงบิ๊บๆ ที่ฟังแล้วไม่ซับซ้อนสามารถบ่งบอกอาการเบื่องต้นได้
Beep Code
1. Beep 1 ครั้งสั้นๆ แล้วหน้าจอติดปุ๊ป แสดงว่าการทำงานปรกติ ^^
2. Beep 2-3 ครั้งสั้นๆ แล้วหน้าจอมืดมิด หรืออาจทำงานได้ปรกติในบางครั้ง แสดงว่า Ram หลว,หรืออาจเสียหาย ก็ลองแงะๆเปิดฝาแล้วขยับแรมให้แน่นดู
3. Beep 6 ครั้ง มีปัญหาที่คีย์บอร์ด คีย์บอร์ดอาจจะเสียหาย หรือหลวมก็ลองๆขยับใหม่ดู
4. Beep 7 ครั้ง CPU ป่วยหนัก ถ้าให้ดีต่อข้อมูลและอุปกรณ์อื่นๆ ควรเปลี่ยนใหม่ = ="
5. Beep 8 ครั้ง ถ้าเครื่องใช้การ์ดจอเสียงนี้บ่งบอกว่ากำลังมีปัญหาการแสดงผลของภาพ ต้องตรว0เช็คที่การ์ดจอ (AGV) ว่าเสียหรือหลวม
6. Beep 9 ครั้ง Bios พัง -*-
7. Beep 10 ครั้ง !!!!! แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
8. Beep 11 ครั้ง หน่วยความจำ CACHE มีปัญหาของ Mainboard มีปัญหา
9. Beep ยาวๆ จะมีปัญหาการจ่ายไฟ ตรวจสอบ Power หรือสายที่ไฟที่ต่ออุปกรณ์ว่าแน่หรือปล่าว
10. Beep สั้นๆ รัวๆ ถี่ๆ กัน แสดงว่า Mainboard ผิดปรกติ ให้ตรวจสอบสายพ่วงก่อนเบื่องต้น
11. Beep ยาว 1ครั้ง สั้น 2ครั้ง ถ้าเครื่องใช้การ์ดจอเสียงนี้บ่งบอกว่ากำลังมีปัญหาการแสดงผลของภาพต้องตรวจเช็คที่การ์ดจอ ว่าเสียหรือหลวม
Bios ยี่ห้อ AMI
1. Beepเสียงดัง 1 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
2. Beep เสียงดังยาว ๆ 1 ครั้ง แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอนการ Post เป็นปกติ
3. Beepเสียงดัง 2 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
4. Beepเสียงดัง 3 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่อ'ไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
5. Beepเสียงดัง 4ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพ Timmer อาจต้องเปลี่ยนชิพหรือเมนบอร์ใหม่ 6. Beepเสียงดัง 5 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
7. Beepเสียงดัง 6 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพควบคุมคีย์บอร์ดเสีย หรือไม่อาจเป็นที่ตัว คีย์บอร์ดเอง อาจต้องเปลี่ยนชิพ,เมนบอร์ด หรือคีย์บอร์ดใหม่
8. Beepเสียงดัง 7 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของซีพียู อจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
9. Beepเสียงดัง 8 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
10. Beepเสียงดัง 9 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
11. Beepเสียงดัง 10 ครั้งแสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
12. Beepเสียงดัง 11 ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด
13. Beepเสียงดังสั้น ๆ 2 ครั้ง เสียงดังยาว 1 สั้น 2 แสดงว่ามีปัญหาในขั้นตอนการ Post ที่มีบางขั้นตอนไม่ผ่าน แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์แสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
Bios ยี่ห้อ Phoenix
สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ ไบออสไบออส Phoenix นี้สัญญาณเสียง Beep Code จะมีรายละเอียดมากและค่อนข้างฟังยากทีเดียว ต้องอาศัยความชำนาญ เล็กน้อย โดยสัญญาณเสียงจะแบ่งออกเป็น 3 จังหวะในแต่ละจังหวะอาจมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน (หากนับไม่ทันควรรีสตาร์ทเครื่องแล้วเริ่มนับใหม่อีกครั้ง ) โดยแต่ละสัญญาณเสียงที่เป็นปัญหาหลัก ๆ จะมีความหมายดังนี้
จังหวะเสียง
1-1-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการอ่านค่า CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-1-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
1-2-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพ Timer ซึ่งเป็นตัวตั้งเวลาเสียต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-2-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-2-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-3-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด เนื่องจากรีเฟรชค่าแรมไม่ผ่านอาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
1-3-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม ซึ่งอาจมีปัญหาในส่วนแอดเดรสแรก 64 KB อาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
1-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม หรือเมนบอร์ดเสีย ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองนี้
1-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม หรือเมนบอร์ดเสีย ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองนี้
1-4-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรมบางแถว ให้ตรวจสอบแรมทุกแถวที่มีอาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
2-1-1,2-1-2, 2-1-3,2-1-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม ซึ่งอาจมีปัญหาในส่วนแอดเดรสแรก 64 KB อาจต้องเปลี่ยนแรมใหม่
3-1-0 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
3-1-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-1-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-1-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของอินเตอร์รัพต์ที่ 2 เสีย
3-1-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของอินเตอร์รัพต์ที่ 1เสีย
3-2-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปบางตัว บนเมนบอร์ด ทำงานผิดพลาด ควรตรวจสอบเมนบอร์ด
3-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผล ควรตรวจสอบว่าได้เสียบการ์ดลงบนสล๊อตแน่นหรือยัง
3-4-0 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผลเสีย อาจจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
3-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของสัญญาณจอภาพอาจมีปัญหา
3-4-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการติดตั้งการ์ดแสดงผล ควรตรวจสอบว่าได้เสียบการ์ดลงบนสล๊อตแน่นหรือยัง
4-2-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิพบางตัวบนเมนบอร์ดเสีย อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-2-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดเสียหรือไม่ที่ตัวคีย์บอร์ดเอง ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-2-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของชิปควบคุมการทำงานของเมนบอร์ดเสียหรือไม่ที่ตัวคีย์บอร์ดเอง ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-2-4 แสดงว่ามีปัญหากับการ์ดบางตัวบนเมนบอร์ดหรือไม่ก็เมนบอร์ดเสีย ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้
4-3-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเมนบอร์ด อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-3-4 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการตั้งวันและเวลา ควรตรวจสอบการตั้งวันและเวลาใหม่ อาจต้องเปลี่ยนแบเตอรี่หรือชิปไทม์เมอร์
4-4-1 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ Serial Port อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-4-2 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ Pararel Port อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
4-4-3 แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของตัวคำณวนทางคณิตศาสตร์เสีย อาจต้องเปลี่ยนซีพียูหรือเมนบอร์ดใหม่
หากเราอยากรู้ว่า Bios เรายี่ห้ออะไร เข้าไปดูได้อย่างไรก็มีหลายวิธี แต่ผู้เขียนขอเสนอวิธีเดียวและง่ายที่สุด เพียงแค่ใช้โปรแกรม CPU-Z เท่านั้น หาโหลดได้ตามลิ้งข้างล่างเลยครับ
โหลดโปรแกรม CPU-Z คลิ๊กที่นี่ |
ถ้าเราได้ยินและรู้ถึงรหัสเสียงตาม Bios ของเราแล้วเราก็จะสามารถดูแล หรือซ่อมแซมเบื่องต้นกับคอมพิวเตอร์ของเราได้ ดีกว่าจะขนไปไปซ่อมที่ร้าน ถ้าเจอร้านมั่วเค้าก็จะเพิ่มอาการของคอมเรา จาก Ram หลวมก็อาจจะกลายเป็น Ram พัง ทำให้เราต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายโดยใช่เหตุ
ที่มาจากแหล่งความรู้ : GuRu.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น