วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่าง ขั้นตอนและคู่มือสำหรับรับสมัครพนักงานเข้าทำงาน เพื่อทำธุรกิจ (ตอนที่ 2)


มาต่อกันตอนที่ 2 เลยครับ

วันลา และหลักเกณฑ์การลา
1.      ระเบียบการลาทุกประเภท
1.1  พนักงานที่ประสงค์จะลาหยุดงาน จะต้องกรอกข้อมูลในลา และยื่นขออนุญาตเป็นการล่วงหน้าต่อผู้จัดการทั่วไป และจะหยุดได้ก็ต่อเมื่อผู้จัดการได้อนุมัติการลาแล้วเท่านั้น
1.2  ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เป็นหน้าที่ของพนักงานที่จะต้องหาวิธีแจ้งให้ผู้จัดการทั่วไปได้รับทราบโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่ควรเกินกว่า 1 ชั่วโมงนักจากวันที่เริ่มงานปกติ และเมื่อกลับมาทำงานปกติแล้ว จะต้องบันทึกเหตุผลไว้ด้วยในสมุดบันทึกการลงเวลา
1.3  การฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติในการลา หรือการแจ้งข้อความที่เป็นเท็จเพื่อที่ได้รับการอนุญาตให้ลาหยุดงานนั้น ถือเป็นความผิดทางวินัย
2.      ลาป่วย
2.1  พนักงานมีสิทธิในการลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติไม่เกินปีละ 30 วัน ส่วนเกิน 30 วันทำงานจะไม่ได้รับค่าจ้าง
2.2  พนักงานที่ต้องการลาเนื่องจากป่วยจะต้องแจ้งผู้จัดการทั่วไปโดยเร็วที่สุดในชั่วโมงแรกของการทำงานด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง และจะต้องยื่นใบลาให้ผู้จัดการอนุมัติในวันแรกของการกลับมาทำงาน
2.3  การลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป ทางร้านมีสิทธิขอให้พนักงานแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งระบุการวินิจฉัยโรคเพื่อประกอบการพิจารณาความจำเป็นในการลาป่วย
3.      ลากิจ
3.1  พนักงานมีสิทธิลางานเพื่อปฏิบัติกิจธุระส่วนตัวที่จำเป็นได้ โดยที่ไม่สามารถทำกิจดังกล่าวในวันหยุด หรือมีความจำเป็นต้องไปประกอบพิธีศพของบิดา มารดา คู่สมรส บุตรของพนักงาน พนักงานมีสิทธิลากิจได้โดยได้รับค่าจ้างครึ่งหนึ่งของค่าจ้างปกติ หรือเป็นไปตามที่ร้านพิจารณา
3.2  พนักงานที่ประสงค์จะลาหยุดจะต้องขอและได้รับอนุมัติจากผู้จัดการโดยตรง ก่อนล่วงหน้า 2 วันทำงาน
4.      ลาเพื่อคลอดบุตร
1.      พนักงานหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 90 วันโดยนับรวมวันหยุดด้วยทั้งนี้ร้านจะจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติแต่ไม่เกิน 45 วัน
2.      ภายใน 1 เดือนหลังคลอดบุตร พนักงานควรแจ้งวันที่จะกลับเข้าทำงานให้ผู้จัดการทราบ
3.      การแท้งบุตรก่อนตั้งครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ไม่ถือเป็นการคลอดบุตร ให้ถือเป็นการลาป่วย
5.      ลาแต่งงาน
1.      พนักงานที่ผ่านการทดลองงานมีสิทธิลาเพื่อประกอบพิธีมงคลสมรสโดยได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันทำการ
2.      พนักงานมีสิทธิลาเพื่อประกอบพิธีมงคลสมรสได้เพียง 1 ครั้งตลอดระยะเวลาที่ทำงานกับร้าน
3.      พนักงานจะต้องนำหลักฐานประกอบการลาเพื่อขออนุมัติจากผู้จัดการโดยตรงล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำงาน



ค่าตอบแทนในการทำงาน
          ทางร้านจ่าค่าตอบแทนในการทำงานเป็นเงินเดือนตามลักษณะการจ้างงานซึ่งกำหนดเงินเดือนเริ่มต้น ทางร้านจะพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานเป็นสำคัญ
1.      การจ่ายเงินเดือน
1.1  พนักงานประจำ ทางร้านจะทำการจ่ายเงินเดือนทุกสิ้นเดือนเป็นเงินสด คือวันที่ 28, 30, 31 ของเดือน
1.2  พนักงานสัญญาจ้างพิเศษ ทางร้านจะจ่ายเป็นเงินสดทุกสิ้นเดือน
1.3  ในกรณีที่วันดังกล่าวตรงกับวันหยุด ทางร้านจะทำการเลื่อนการจ่ายขึ้นล่วงหน้า 1 วันทำการ
2.      การขึ้นเงินเดือนประจำปี
ร้านจะขึ้นเงินเดือนประจำปีตามความสามารถของพนักงานซึ่งอัตราการขึ้นเงินเดือน ทางร้านจะพิจารณาตามความเหมาะสมแก่สภาวการณ์ของร้าน
3.      สวัสดิการ
ทางร้านมีค่าคอมมิชชั่น เบี้ยขยัน โบนัส และอื่นๆ โดยทางร้านจะพิจารณาตามความเหมาะสมแก่สภาวการณ์ของร้าน

วินัย การลงโทษ และการร้องทุกข์
          เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน ทางร้านได้กำหนดวินัย โทษทางวินัย และการร้องทุกข์ขึ้น เพื่อให้พนักงานเข้าใจกฎข้อห้ามต่างๆ และให้พนักงานยึดถือโดยเคร่งครัด ดังนี้
1.      วินัย
1.1          ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และเต็มความสามารถ
1.2          ปฏิบัติงานตามคำแนะนำหรือคำสั่งโดยชอบธรรมจากผู้บังคับบัญชาในหน้าที่การงาน และให้ความนับถือผู้บังคับบัญชาและพนักงานที่อาวุโสสูงกว่า
1.3          รักษาและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทางร้าน อย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่
1.4          มีกิริยาสุภาพเรียบร้อยต่อผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนพนักงาน และลูกค้า
1.5          ปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาทำงานและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายโดยเคร่งครัด
1.6          รักษาทรัพย์สินของทางร้าน เสมือนหนึ่งว่าเป็นทรัพย์สินของพนักงานเอง รักษาความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ตลอดจนประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์ น้ำ ไฟฟ้า ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
1.7          แต่งกายสุภาพในระหว่างการทำงาน
1.8          ละเว้นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนพนักงาน
1.9          ห้ามพนักงานลงชื่อ ลงเวลาทำงานแทนคนอื่น
1.10      พนักงานจะต้องมาปฏิบัติงานให้ตรงเวลา

2.      การกระทำอันเป็นความผิด
2.1          ละเลย ปฏิเสธ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หรือหน้าที่ที่ทางร้านได้มอบหมาย เว้นแต่หน้าที่นั้นอาจจะเป็นอันตรายแก่ตนเองอย่างร้ายแรง
2.2          ละทิ้งหน้าที่ ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงาน หรือขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
2.3          เจตนาหน่วงเหนี่ยวหรือปฏิบัติงานล่าช้า
2.4          ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดระเบียบข้อบังคับ
2.5          เล่นการพนัน เสพยาเสพติด เสพสุราหรือของมึนเมาในบริเวณร้าน หรือในเวลาทำงาน
2.6          มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2.7          จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของร้านหรือบุคคลอื่น
2.8          เปิดเผยความลับ สูตร เทคนิค ความรู้ หรือข่าวสารทางธุรกิจ อันเป็นความลับของร้าน หรือสิ่งที่ร้านปกปิด เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
2.9          เปิดเผยอัตราเงินเดือน อัตราการขึ้นค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนใดทั้งของตนเองและของบุคคลอื่นทราบ
2.10      ละเลย หรือปกปิด หรือไม่แจ้งให้ทางร้านทราบถึงความสูญเสียทรัพย์สินของร้านในเวลาอันสมควร
2.11      ทำลายหรือใช้ทรัพย์สินของร้านในทางที่ไม่สมควร หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
2.12      มีส่วนร่วมกับการประกอบกิจการซึ่งมีลักษณะเป็นการแข่งขันหรือขัดผลประโยชน์ต่อร้าน

3.      โทษทางวินัย
พนักงานผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบวินัย ข้อบังคับ หรือคำสั่งโดยชอบของร้าน จะพิจารณาความผิดและโทษตามที่เห็นสมควร ดังนี้ คือ
4.1 เตือนด้วยวาจา
4.2 เตือนด้วยลายลักษณ์อักษร และลงไว้ในแฟ้มประวัติ
4.3 สั่งพักงาน โดยไม่มีสิทธิรับค่าจ้าง
4.4 ตัดค่าจ้างหรือระงับการขึ้นเงินเดือน
4.5 เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

4.      โทษทางวินัยขั้นร้ายแรง
สำหรับความผิดซึ่งร้านถือว่าเป็นความผิดร้านแรง จะให้พนักงานออกจากงานโดยไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ แม้พนักงานจะทำความผิดครั้งแรก ดังนี้
4.1          ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดทางอาญาโดยเจตนาต่อร้าน
4.2          จงใจให้ร้าน ได้รับความเสียหาย หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
4.3          ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบธรรมด้วยกฎหมายของร้าน และร้านได้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงไม่ต้องตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
4.4          ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
4.5          ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้ร้านได้รับความเสียหาย
4.6          ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (ยกเว้นความผิดลหุโทษ)

5.      การร้องทุกข์
5.1          เมื่อพนักงานประสบปัญหาหรือรู้สึกว่าไมได้รับความยุติธรรม พนักงานควรพูดจาปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง ผู้บังคับบัญชาทุกคนควรให้ความสำคัญแก่ปัญหาของพนักงานที่ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ต้องไม่ละเลย และพยายามแก้ไขให้เร็วที่สุด
5.2          ในกรณีที่ปัญหาของพนักงานไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาอันสมควร หรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับผู้บังคับบัญชาโดยตรง ให้ร้องทุกข์ถึงผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป

การพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน
พนักงานทุกคนจะพ้นจากการเป็นพนักงานของร้าน ในกรณีดังนี้
1.1          ถึงแก่กรรม
1.2          ลาออก
1.3          เลิกจ้าง

การลาออก
ให้พนักงานยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือแล้วแต่ทางร้านเห็นสมควร

ข้อกำหนดอื่นก็สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมนะครับ ขอบคุณที่ติดตาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น