วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Surez Syndrome



         

          ฟุตบอลโลก 2014 ครั้งนี้มีประเด็นให้พูดถึงอย่างมากมาย เช่น ปัญหาการประท้วงที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มการแข่งขัน การตกรอบของทีมใหญ่หลายๆ ทีม ทั้ง อิตาลี อังกฤษ สเปน ประตูสวยๆ หลายประตู แต่ที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกรณี “กัดทะลุมิติ” ของเทพอุรุกวัย           ลุยส์ ซัวเรส” (Luis Alberto Suárez Díaz )

          โดยวีรกรรมการใช้ฟันเป็นอาวุธนี้เป็นครั้งที่สามแล้วชีวิตการค้าแข้งตั้งแต่สมัยอยู่ที่ฮอลแลนด์กับสโมสร Ajax Amsterdam (กัด ออตมัน บักกัลป์ โดนแบน 7 นัด) และที่อังกฤษกับ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล (กัดแขน บรานิสลาฟ อีวานอวิช กองหลังเชลซี โดนแบน 10 นัด) และล่าสุดกัดไปที่ไหล่ของจอร์โจ คิเอลลีนี กองหลังของอิตาลี ในรอบแรกนัดที่สาม ทำให้ทางฟีฟ่าประกาศบทลงโทษ โดยให้งดเล่นให้กับทีมชาติเป็นเวลานานถึง 9 นัด และยังห้ามเล่นในระดับสโมสรอีก 4 เดือน และยังสั่งปรับซัวเรซอีกเป็นจำนวนเงิน 3.6 ล้านบาท เป็นผลให้ฟุตบอลโลกครั้งนี้จบลงทันทีสำหรับซัวเรส



          พูดถึงพฤติกรรมการกัดของซัวเรส ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นบ่อยมาก แม้จะผ่านการลงโทษมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่เหตุการณ์กลับเกิดขึ้นอีก โดยมีนักจิตวิทยาหลายคนพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุว่าทำไมเขาถึงไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
         
          สังเกตได้ว่าทุกครั้งที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน หรือเกิดขึ้นทันทีโดยไม่รู้ตัว จะรู้สึกตัวเมื่อเหตุการณ์ได้ผ่านไปแล้ว

          ผมนั่งอ่านบทวิเคราะห์พฤติกรรมของซัวเรส ซึ่งผมขอเรียก Surez  Syndrome ทั้งข้อมูลอินเตอร์เน็ตและหนังสือพิมพ์ มีบทความที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันจิตวิทยา นิว เซาธ์ เวลล์ ประเทศ ออสเตรเรีย กล่าว่า

 
         
          “...พฤติกรรมแบบนี้จะพบบ่อยในวัยเด็ก เป็นเรื่องยากมากที่จะเจอพฤติกรรมแบบนี้กับผู้ใหญ่ ซึ่งซัวเรสกำลังแสดงความก้าวร้าว โดยวิธีการของเขาคือ “การกัด” และการแสดงออกแบบนี้มีหลายรูปแบบ
         
          โดยคนประเภทนี้มักถูกกลั่นแกล้งมาตั้งแต่เด็ก และเก็บสะสม เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ซัวเรสมีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์ร้อน และหุนหันพลันแล่น...”

          ถ้าให้พิจารณาแล้ว สาเหตุของพฤติกรรมดังกล่าวอาจมาจากเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในวัยเด็กและเก็บเป็นความเครียดสะสม และแสดงออกอย่างฉับพลันเมื่อมีสิ่งเร้า

 
           
          ถามว่าสามารถแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่ ผมว่ามันขึ้นอยู่กับเจ้าตัวว่าจะยอมรับในสิ่งที่ทำได้ไหมและจะยอมเข้ารับการรักษาโดยการบำบัดอย่างที่นักจิตวิทยาหลายคนแนะนำหรือเปล่า

          ซังเรสมีครอบครัว มีภรรยาที่คอยให้กำลังใจ และมีลูกสาวที่น่ารัก ผมเชื่อว่าเขาจะผ่านปัญหาที่เขาสร้างขึ้นได้ด้วยตัวของเขาเอง...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น