วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศนิวซีแลนด์(New Zealand Science Curriculum)


หลักสูตร/จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในแต่ละระดับ
  
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในประเทศนิวซีแลนด์ เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย การสังเกต การวางแผน การจัดกระบวนการ การสื่อความหมาย และการรายงานผล โดยทักษะกระบวนการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งได้แก่
  • N  Making  Sense  of  the  Nature of Science and its Relationship to Technology
  • L  Making  Sense  of  Living  World
  • M  Making  Sense  of  Material  World
  • P  Making  Sense  of  Physical  World
  • E  Making  Sense  of  Planet  Earth  and  Beyond
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิติกับสิ่งแวดล้อม
  •   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ คุณสมบัติและการเปลี่ยนแปลงของวัสดุต่างๆ รอบตัว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง ลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของโลก
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • สามารถนำความรู้พื้นฐานประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
  • สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  

แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

  1. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง  ตลอดเวลา  ติดตามและประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  2. ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จากปัญหาที่พบ ตัวอย่างเช่น  นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง  ซึ่งข้อมูลนี้อาจปรากฏขึ้นจากการวัดผลประเมินผลหรือจากผลการวิจัย   คณะครูร่วมปรึกษาหารือวิธีการในการแก้ปัญหา
  
การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
 ตรงนี้ที่เป็นหัวใจที่สำคัญของการปฏิวัติการศึกษา   ถ้ามีแนวทางการศึกษาของชาติ  มีหลักสูตรอย่างดี แต่ขาดการติดตาม ประเมินผลจะไม่สามารถวัดความสำเร็จได้เลยว่า ผลผลิตของการศึกษานั้นได้มาตรฐานจริงหรือไม่ ดังนั้นเมื่อได้มีการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปแล้วสิ่งที่ประเทศนิวซีแลนด์เป็นห่วงอย่างมากก็คือ  คุณภาพ และมาตรฐานของการศึกษา  จึงได้ตั้งหน่วยงานติดตามและประเมินผลการจัด  
การศึกษาแยกเป็น 2 ระบบ  คือ
   1.   การติดตามและประเมินผลภายใน ( Internal Evaluation )
     2.   การติดตามและประเมินผลภายนอก ( External  Evaluation )
การติดตามและประเมินผลภายใน ระดับกระทรวงมี  3 หน่วยงาน  คือ
  1. สำนักประเมินและตรวจสอบภายใน ( Internation Audjt Division ) ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานส่วนกลางว่าบรรลุผลตามนโยบายของรัฐเพียงใด
  2. กลุ่มบริหารนโยบาย ( Implementation Group ) ทำหน้าที่กำกับดูแลธรรมนูญของโรงเรียนและติดตามการบริหารของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
  3. สำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ ( Nee Zealand Qualifications Authority ) ทำหน้าที่ทดสอบความรู้และทักษะเพื่อให้การรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนและนักเรียนทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ โดยมีการทดสอบเทียบเกณฑ์มาตรฐานรายวิชา และการสอบปลายภาคของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ
การติดตามและประเมินผลภายนอก ดำเนินการโดยสำนักงานตรวจสอบคุณภาพการศึกษา               ( Education Review Office - ERO ) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ  ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนและคณะกรรมากรบริหารโรงเรียน ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนกระทั่งถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ว่าเป็นไปตามแนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาและธรรมนูญโรงเรียนหรือไม่  โดยเป็นการตรวจสอบในลักษณะถ่วงดุลกับการประเมินภายใน  เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน  ดังนั้น ERO จึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทคล้ายกับ OFSTED ของประเทศอังกฤษ ERO มีบุคลากรทั้งสิ้น 160 คน ในจำนวนนี้ 110 คน เป็นผู้ตรวจที่ได้รับการรับรองโดยการจดทะเบียน ทำหน้าที่ตรวจสอบการศึกษาของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบให้ครบทุกโรงเรียนภายในช่วงระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากรัฐกำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งในประเทศต้องได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (ERO) ผู้ตรวจ ERO จึงมีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบโรงเรียนตามกฎหมาย  มีสิทธิท้วงติง และเสนอแนะโดยที่สถานศึกษาจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะนั้น
ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของ ERO มีดังนี้
  1. คณะผู้ตรวจสอบของ ERO แจ้งให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนทราบกำหนดเวลา และประเด็นที่จะตรวจสอบ ซึ่งได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และผลการดำเนินงาน
  2. คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจัดส่งข้อมูลแก่ ERO ซึ่งประกอบด้วยรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของโรงเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน รายงานการติดตามผลของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ธรรมนูญของโรงเรียน แผนพัฒนาโรงเรียน รายงานประจำปี คำอธิบายรายวิชาต่างๆ ตารางเรียน ตารางแสดง หน้าที่ความรับผิดชอบของครู รายละเอียดงบประมาณประจำปี ฯลฯ
  3. ผู้ตรวจสอบของ ERO เข้าตรวจเยี่ยมโรงเรียน โดยเข้าสังกัดการสอนของครูการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการทดสอบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยสุ่มตัวอย่างนักเรียนมาทดสอบความรู้ในวิชาต่างๆ ตลอดจนศึกษาความเห็นของผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อโรงเรียน
  4. ผู้ตรวจส่งร่างรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนพิจารณายืนยันว่าถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่  หากไม่ถูกต้องจะมีการหารือกันในลักษณะของการมรส่วนร่วมและยอมรับซึ่งกันและกัน
  5. ผู้ตรวจส่งรายงานผลฉบับที่ยืนยันแล้วให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนทราบอย่างเป็นทางการ  เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ  ให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน แล้วรายงานให้ ERO ทราบ
  6. ส่งรายงานผลการตรวจสอบฉบับสมบูรณ์ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ  ผู้ปกครองและสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบทั่วกัน
  
เนื่องจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีตวามสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานจัดการศึกษา  และสำนักงานตรวจสอบมีอำนาจเต็มที่ในการชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานทางวิชาชีพ  และรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวอย่างเคร่งครัด  เงื่อนไขของการรักษามาตรฐานการตรวจสอบก็คือ ข้อมูลในรายงานผลการติดตามตรวจสอบจะต้องมีความเที่ยงตรง  และสร้างสรรค์ผู้ตรวจต้องเป็นผู้ที่มีคุณภาพ  มีความรู้ความสามารถ  เชี่ยวชาญในอาชีพ มีประสบการณ์การสอนและได้รับการฝึกอบรม เรื่องการประเมินมาเป็นอย่างดี  เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม  มีความยุติธรรม  หมั่นทบทวนตนเองและผู้ร่วมงานด้วยกันอยู่เสมอ มีการนิเทศ รวมทั้งการรับฟังการประเมินย้อนกลับจากกลุ่มโรงเรียนเพื่อปรับปรุงการทำงานของตน  การปฏิวัติการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดการศึกษาและการบริหารงานของประเทศอย่างไร  แต่ที่ประเทศนิวซีแลนด์เองก็มั่นใจว่าประสบความสำเร็จแล้วจริงๆ ก็คือการมีระบบการประเมินผลทั้งภายใน และภายนอก  ทำให้สถานศึกษามีการแข่งขันกัน  ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้สาธารณชนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน  จึงมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน และมีความกระตือรือร้นที่จะสนับสนุนการดำเนินงานมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น