หากจะกล่าวถึงความหมายของวัฏจักรอาจนิยามได้หลายความหมายโดยเฉพาะกับสิ่งที่เรียกว่า
“สิ่งมีชีวิต”
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีอยู่หลายประเภท
จะพืชหรือสัตว์ล้วนมีวัฏจักรในการดำเนินชีวิตในแบบของมันเอง
แล้วสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์”
อย่างเราหล่ะ มีวัฏจักรชีวิติอย่างไร
วัฏจักร : วงจร : ช่วงระยะเวลาที่หมุนรอบ
เริ่มตั้งแต่จุดหนึ่งเวียนรอบไปจนถึงจุดสุดท้าย แล้วกลับมายังจุดเดิมอีก นี่อาจเป็นความหมายหนึ่งที่สามารถนิยามความหมายของคำว่า “วัฏจักร” ได้
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย”
เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งประโยคนี้เราได้ยินและได้ฟังมานานแสนนานตั้งแต่จำความได้
เพราะนี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์
และการเวียนว่ายตายเกิดนี่เองที่ทำให้เราทุกคนต้องใช้เวลาที่มี่อยู่อย่างรอบคอบ
ไม่ประมาทกับชีวิต การคิดจะทำอะไรแต่ละอย่างต้องมีเหตุและผล และต้องยอมรับผมจากการกระทำของตัวเองด้วย
“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
“ทำดีได้ไปสวรรค์ ทำชั่วตกนรก”
นี่คือประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงการกระทำของมนุษย์ว่าด้วยเรื่องของ “กรรม”
คือ ทำสิ่งใดก็ได้อย่างนั้น การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด
กลับมาสู่โลกปัจจุบัน....ตัวผู้เขียนมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า
ระบบชีวิตของมนุษย์อาจถูกกำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ และมีเวลาเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ในการแสดงความเป็นตัวตนของตนเอง
การแบ่งช่วงอายุอาจจะบอกได้ถึงความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน
โดยผู้เขียนให้ความสำคัญไปที่ความเป็นตัวตนของพ่อและแม่
เวลา...สำคัญมากสำหรับคนที่มีครอบครัว
หลายครั้งที่เราเห็นความล้มเหลวของสถาบันแห่งนี้ที่มีสาเหตุมาจากคำว่า “ไม่มีเวลา”
โดยเฉพาะการมีเวลาให้กับลูกของตัวเอง
อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เฉพาะสามีที่ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว
แต่ผู้เป็นแม่ก็ต้องทำเช่นกัน เราจะทำอย่างไรดี แม้ว่าจะมีหลายทางเลือก เช่น
ฝากเลี้ยงกับญาติผู้ใหญ่ หน่วยงานที่ดูแลเด็กเล็ก
แต่อย่าลืมว่าด้วยวัยของเด็กสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคือ พ่อและแม่
ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อความหมายก็คือ “เราจะมีเวลาให้ลูกของเราได้มากที่สุดเมื่อใด”
และหลังจากนั้นความสัมพันธ์ของตัวเรากับลูกของเราจะเป็นอย่างไรต่อไป...
0 – 3 ปี เราสามารถอยู่กับเขาได้อย่างเต็มที่ 24 ชั่วโมง (ในกรณีที่ไม่ต้องไปทำงาน)
3 – 6 ปี เราอาจมีเวลาให้เขาน้อยลงบ้างหากต้องนำไปเข้าโรงเรียนที่ปัจจุบันเริ่มต้องตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย
(3
ขวบขึ้นไป) และในช่วงวัยนี้เขาต้องการความเป็นส่วนตัว
อยากมีพื้นที่เป็นของตัวเองเพื่อเพิ่มจินตนาการในการเรียนรู้
7 – 12 ปี ในวัยประถมศึกษา เราต้องทำใจอย่างหนึ่งว่านี่เป็นวัยแห่งการเรียนรู้
เพราะนอกจากที่ต้องเรียนทั้งวันแล้ว
การเรียนพิเศษยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เราต้องยอมรับว่าเวลาที่จะได้อยู่กับเข้าเริ่มลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้ว
13 -15 ปี วัยรุ่นตอนต้น เป็นตัวของตัวเอง
เพื่อนเริ่มมีบทบาทสำคัญกับชีวิต
เราอาจจะได้คุยกับเขาแค่เพียงช่วงเช้าและก่อนเข้านอนเท่านั้น
16 – 18 ปี วัยรุ่นเต็มขึ้น
มัธยมปลายเป็นช่วงเวลาสำคัญของชีวิตเขาเลย หากที่ผ่านมาเราเต็มที่กับเขา ไม่มีปัญหากับสิ่งที่เขาเป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอาจจะทำได้ง่าย
แต่ถ้าปฏิเสธตั้งแต่ต้นคงต้องหาทางที่ดีต่อทั้งสองฝ่ายให้ได้ และเวลาที่ได้พบหน้ากับวันหนึ่งคงไม่ถึง
10
ชั่วโมงเป็นแน่
18 – 22 ปี ชีวิตของหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัย เราคงไม่ได้เจอเขาอีกอย่างน้อย
4
ปีเต็ม จะได้เจอกันเฉพาะหน้าเทศกาลหรือปิดภาคเรียน ถึงตอนนั้นคงรู้ว่าเราคงแก่ไปมากแล้ว
22 – 25 ปี เข้าสู่ช่วงวัยทำงานหลังเรียนจบ
แต่ละคนแยกย้ายไปตามทางที่เราเรียนมา
คนเป็นพ่อเป็นแม่คงเป็นเพียงกำลังใจที่ดีให้กับลูก และรอคอยวันที่เขากับมา
25 – 30 ปี นี่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของลูกเราแล้วในการเริ่มสร้างครอบครัว
เขาอาจจะมีหรือไม่แล้วแต่เขา มันอาจเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความสุขและความเศร้า
สุขที่เห็นลูกเป็นฝั่งเป็นฝา หรืออาจทุกข์ที่จะไม่ได้เจอเขาอีก
แต่เราควรยิ้มนะเพระนี่คือความสุขของลูก
30 ปีขึ้นไป เป็นเวลาสำคัญที่การตัดสินใจทั้งหมดอยู่ที่เขา
ว่าต้องการให้เราอยู่แบบไหนในฐานะคนแก่คนหนึ่ง
จะให้อยู่ด้วยหรือแยกกันคนละหลังเหมือนที่ผ่านมา
หรือจะพาครอบครัวเขากับเรามาอยู่ด้วยกันเลย
ตรงนี้มันต้องย้อนกลับไปในช่วงอายุที่ผ่านมาว่าเราผ่านอะไรมาบ้าง
เราได้ทำทุกอย่างเพื่อลูกหรือยัง เราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้เขาหรือไม่ และเขามีความสุขที่ได้อยู่กับเราหรือเปล่า
ช่วงเวลาทุกช่วงมีความสำคัญเท่ากันหมด
ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ทำอะไรไปบ้างเพื่อคนที่เรารัก
ถึงตอนนี้เวลานั้นอาจจะยังมาไม่ถึง...แต่สิ่งที่เราในฐานะพ่อและแม่
ผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายพึงกระทำ คือ
“ ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขาโดยไม่ต้องหวังว่าเขาจะตอบแทนเรา
เพราะเราคือผู้ที่ทำให้เขาเกิดมา...
เราไม่ได้เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อลูก...แต่เป็นลูกที่เป็นผู้ให้ความรักกับเรา”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น