วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อิ่มอร่อยกับบะหมี่เกี๊ยวปู Odean ต้นตำหรับ บะหมี่ปูก้ามยักษ์...


บะหมี่โอเดียน ODEAN เจ้าเก่า 

สาขารัตนาธิเบศน์ นนทบุรี 

วันนี้ขับๆรถอยู่ นึกไม่ออกว่าจะกินอะไรแถวบ้านดี นึกขึ้นมาได้ว่า มีร้านบะหมี่เกี๊ยวเจ้าดังอยู่แถวบ้านนี่นา
อย่าช้า ไปลุยกันเลยจ้าาา

ร้านนี้จริงๆ เค้ามีต้นกำเนิดมาจากแถววงเวียนโอเดียน เยาวราชโน่นน.... ชื่อเสียงโด่งดังมานานเพราะมีปูทะเลก้ามยักษ์ใส่มาด้วย (แต่วันนี้เราไม่ได้กิน) ตอนนี้เค้ามีมาเปิดเป็นอีกสาขาที่ 2 ตรงถนนรัตนาธิเบศน์ ร้านนี้เอาจริงๆ คนไม่เยอะมาก อาจเพราะทำเลที่ไม่โดดเด่น มองเห็นยากจากถนน เลยทำให้คนน้อย แต่ว่าขากินอย่างเรา มีเหรอจะพลาด.... 

ที่ตั้ง: ถนนรัตนาธิเบศน์ นนทบุรี 
วิธีมา: ถ้าขับรถมาจากแคราย ให้ขับตรงมาเรื่อยๆ แล้วยูเทิร์นที่ใต้สะพานพระนั่งเกล้า (ไม่ต้องข้ามสะพานนะฮ้า) ขับเลียบคู่ขนานไปเรื่อยๆ เลยแบงค์กรุงศรี โชว์รูมนิสสัน แล้วก็จะเห็นป้ายร้านเลยจ้าาา..


หน้าร้านมีที่จอด 2 ที่ ถ้าเต็มให้ไปจอดที่ปั๊มแก็สเลยไปนิดนึงคะ

ป้ายหน้าร้านบะหมี่Odean 


ไปถีงไม่รอช้า ขอเมนูมาดูก่อนเลยจ้าา.. ราคาอาหารส่วนใหญ่อยู่ที่ 55 บาทขึ้นไป...



หิวขนาดนี้จัดก่อนเลย.... หนมจีบกุ้ง... 60 บาท กัดไปแล้วบอกได้เลยว่า ฟินมากกกก...... จีบกุ้ง กุ้งเต็มคำ กัดแล้วมีน้ำซุปอยุ่ข้างในซ่อนอยู่ด้วย ทำได้งัยอ่าาา O_o" .. เมนูเรียกได้ว่า...อร่อยจนต้องเสียสละ (ด้วยทำเป็นคนดีในการยกชิ้นสุดท้ายให้คนที่มาด้วยไป.. เสียดายนะขอบอกก..)



ต่อด้วยบะหมี่เกี๊ยวปูหมูแดง เค้าเรียกเมนูนี้ว่า "หรูหรา" ขอบอกว่าเกี๊ยวอร่อยมากกกก เด้งสุดๆ กัดแล้วละลาย เนื้อปูเฉยๆ ส่วนหมูแดงเป็นแบบรมควัน ใครชอบหมูแดงรมควันก็อร่อย ส่วนเราชอบหมูแดงปกติมากกว่าจ้าา




เราจบ อิ่ม... คนที่มาไม่จบด้วย... ฮีขอสั่งกระเพาะปลามาลองชิม... ถ้วยละ 40 บาท ตอนเห็นเฉยๆ พอได้กินบอกเลย เฮ้ยยย อร่อยมากกก.ให้เยอะด้วย ของดีราคาย่อมเยายังมีอยู่นะเนียยย.. ประทับใจชามนี้คะ




แล้วงัย... เหลือบมองเมนูข้างเสาอีกที... แหะๆ สาหร่ายก็น่ากินเนอะ... ลองก็ได้ ^__^" 
สุดท้ายสั่งมา คนขายทำหน้ายิ้มๆ บอกรอแป๊บนึง... หลังจากลองกิน... เฮ้ย.. อร่อยอีกแล้วอะ เนื้อกุ้งเด้งโดดเด่นมาก น้ำซุปหวานมาก มีผักกาดรองข้างล่าง แต่เราแอบเทใจให้หนมจีบไปแล้วอ่ะ จานนี้เลยได้อันดับรองลงมานิสนึง



จบจริง... อิ่มมาก 2 คน 290 บาท อิ่มอร่อยแถวนนทบุรียังมีซ่อนอยู่ ไว้วันไหนจะพาไปกินกันอีกนะค้าาา

       ^_________________^


ปล. บรรยากาศในร้าน มีคนดังและประวัติความเป็นมามากมายให้อ่านกัน อ๋อ ร้านนี้เค้าหยุดทุกวันจันทร์สุดท้ายของเดือนนะคะ
 

 








วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Go To ABC (Annapurna Base Camp) Episode 2

สะพายเป้ใบโต๊โต Go To ABC (Annapurna Base Camp) Episode 2
                หลังจากที่ทุกคนติดตามการเดินทางจากช่วงที่ผ่านมาไปแล้ว 2 วัน เราไปเดินทางกันต่อกับวันต่อๆไปกันนะคะ
                Day 3 Drive an hour to Nayapul (1,050 m./3,465 ft.) by private /local vehicle then trek to Ulleri (1,850 m./6,105 ft.) 4 hours walking then stay there over night at lodge.
                มาถึงวันที่ 3 แล้วซินะนี่คือจุดเริ่มต้นของการ trekking จริงๆ รถแวนคันเล็กมารับเรา 7 โมงเช้าหน้าที่พัก แต่ก่อนนั้นเราจะต้องแยกกกระเป๋าฝากไว้ที่พักบางส่วน เราจะเอาเสื้อผ้าของใช้ที่จำเป็นสำหรับการขึ้นไปเดินบนนั้น ถามว่าจริงๆเราอยากจะเอาไปทั้งหมดอะนะแต่ลูกหาบเรามีแค่คนเดียวเค้าต้องแบกของเรา 3 คน เราก็เห็นใจเค้าอะนะ ของที่เราฝากไว้ที่โรงแรมไม่มีหายแน่นอนปลอดภัยหายห่วง แล้วเราก็ออกเดินทางกันด้วยรถเก๋งคันเล็กที่สามารถนั่งอัดกันได้ 6 คน รวมคนขับ ด้วยระยะทางที่คดเคี้ยวและนานมากต้องนั่งอัดกระป๋องกัน คุณๆก็ลองนึกดูว่ามันจะสนุกแค่ไหน ลงจากรถก็มีปวดหลังกันบ้างละ 55 ระหว่างทางที่จะเดินไปถึง Ulleri เราก็ชมวิวทิวทัศน์กันไป
(ระหว่างทางเดินผ่านหมู่บ้านก็จะมีที่วางขายสินค้าพื้นเมืองของที่นี่)

(ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองมองดูภาพรวมแล้วก็สวยดีเหมือนกัน)

(ดอกอะไรไม่รู้แต่เห็นว่าสวยดี สีแดงสดตัดกับพื้นหลังสีขาว สวยดี)

                Day 4 Trek to Ghorepani (2,800 m./9,240 ft.) 5 hours walking then stay there over night at lodge.
                วันที่ 4 ของการเดินทาง เราก็ยังชิวๆอยู่ อากาศก็ไม่ร้อนมากเท่าไหร่ แต่ uv จัดมาก เราเลยต้องใส่หมวกป้องกันซะหน่อยไม่งั้นดำแน่นอน ช่วงนี้เรายังไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่ ถ่ายรูปประปลายเพราะเป็นเส้นทางที่เราเคยเดินเมื่อปีที่แล้วเลยไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่ จริงๆเส้นทาง ABC สามารถเดินไปได้หลายเส้นทาง ที่เราเลือกเดินผ่าน Poon hil เพราะเราอยากขึ้นไปข้างบนอีกปีที่แล้วเราไม่เห็นทิวทัศน์บนนั้นสภาพอากาศไม่ดี เราก็ได้แต่หลังว่าสภาพอากาศปีนี้ที่เรามาจะทำให้เราได้เห็นทิวทัศน์บนนั้น เส้นทางช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่เราต้องเดินขึ้นๆ แล้วก็ขึ้นอย่างเดียว ต้านแรงโน้มถ่วงโลกมาก รู้สึกถึงการเดิน 2 วัน ต้นขากระชับขึ้นมากเลย อิๆ ระหว่างทางที่เดินในช่วงเช้าอากาศร้อนอบอ้าว อยู่ดีๆช่วงบ่ายที่เราเดินเข้าป่าเมฆสีดำก็คล้อยมา จากฟ้าที่เคยสว่างสดใส กลายเป็นสีดำทมึน ไกด์ของเราก็บอกให้รีบเดินเพราะอีกประมาณ 45 นาทีกว่าเราจะถึงที่พัก แต่แล้วเหตุการณ์คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อฝนเริ่มตกปรอยๆ เอาหละซิชุดกันฝนก็ไม่มีมันอยู่ในกระเป๋าที่ลูกหาบแบกแล้วเค้าก็ไปก่อนเราซะแล้ว 3 สาวมองตากันปริบๆ เหนื่อยก็เหนื่อยยังจะมาเจอฝนอีก เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เราใส่เสื้อผ้าบางเหลือเกินเพราะช่วงเช้าอากาศร้อน และแล้วก็มีสิ่งเล็กๆตกลงมาที่ใบหน้าเพื่อนเราคนหนึ่งบอกว่าอุ๊ยฝนตกมีดอกไม้เล็กๆตกลงมาด้วย ทันใดนั้นไกด์ของเราก็หันมาบอกว่า “ No, this is snow” “Hurry up” “Jump Jump” ตายละหว่าไม่ได้ยินคำนี้เลย แล้วหิมะก็ตกลงมาพร้อมกับฝน วินาทีนั้นบอกได้คำเดียวว่า หนาวมาก สภาพที่ตัวเปียกปอน ไม่มีแม้กระทั่งเสื้อกันฝน หิมะตกอีก แล้วยังต้องเดินขึ้น ขึ้น ไปห้ามหยุดเพราะหยุดหนาวตายแน่ ทางก็มืด ตอนนั้นคิดว่าตัวเองอาจจะตายแล้วคิดถึงบ้านมากๆ อยากจะร้องได้แต่ร้องไม่ได้ มันเป็นอะไรที่ฝึกความอดทนของเราที่สุดและเป็นช่วงเวลาที่อยู่ใกล้ความตายมากๆ เพราะเริ่มหายใจติดขัด มือเริ่มแข็งแต่ก็ต้องเดินเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายเอาไว้ เป็นอีกบททดสอบจริงๆสำหรับทริปนี้
 (ระหว่างทางก็แวะชมนำ้ตก ปีที่แล้วเรามายังไม่มีเหล็กกั้นเลยเห็นไกด์บอกว่า 5 เดือนที่แล้วมีนักท่องเที่ยวกระโดดลงนำ้ขาหักเค้าเลยเอาเหล็กมากั้นไม่ให้ลงไปจำได้ว่าทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติของปีที่แล้วสวยกว่านี้นะ เสียดายมามีปฏิมากรรมมนุษย์ซะงั้นเพราะฝีมือมนุษย์นั่นเอง 55)
 (มีทั้งช่วงที่เดินขึ้นและเดินลงแต่เราชอบจังเวลาเดินลงเนี่ย)
(เห็นม้าไวอยู่บนเขาเลยขอซักภาพ)
(หิมะเริ่มตกเราถ่ายจากหน้าต่างที่พักหลังจากผ่านช่วงที่เลวร้ายมา หมอกขาวเต็มไปหมด)
                Day 5 Wake up early morning tea/coffee then climb 45 minutes to Poon hill (3,210 m./10,593 ft.) just with day back and well equipped to see the sunrise and panoramic view of Annapurana, Dhaulagiri, Fishtail and other Himalayas with drinking hot tea/coffee then climb back to same hotel, after breakfast trek to Tadapani (2,650 m./8,745 ft.) 5 hours walking then stay there over night at lodge.
                เข้าสู่วันที่ 5 หลังจากคืนที่เหน็บหนาวพอเรามาถึงพี่พักหิมะก็ตกหนักมากหลังคาขาวโพลนไปด้วยหิมะ เราถามไกด์ว่าพรุ่งนี้เราจะได้เห็นทิวทัศน์บน Poon hill มั๊ย ไกด์บอกว่าฟ้าหลังฝน วันนี้ฝนตกหนักพรุ่งนี้เช้าท้องฟ้าจะปลอดโปร่ง เฮ้ออย่างน้อยบนความโชคร้ายก็ยังไม่ความโชคดี เราต้องตื่นตี 5 เพื่อจะเดินขึ้นไปบน Poon hill เพราะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีกว่าจะเดินไปถึง เราจำเป็นต้องใช้ไฟฉายติดตัวไปด้วยเพราะทางจะมืดมาก ถ้าไม่ได้เอาไปจริงๆก็อาศัยแสงจากนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ 55 เพราะมันจะเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะต้องเดินขึ้นไปเพื่อชมทิวทัศน์ข้างบน เดินขึ้นอีกแล้วเหรอเนี่ยแถมตี 5 ยังสลึมสลืออยู่เลย แต่ก็ต้องไปเพราะอยากเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามนี่นา ระหว่างทางเดินไปเรื่อยๆก็เริ่มสว่างสองข้างทางเต็มไปด้วยหิมะ ว๊าวๆๆ สวยมากเลย ที่เมืองไทยไม่มีแบบนี้นะเนี่ย ถือว่ามาครั้งนี้ก็โชคดีที่สุดแล้วอย่างน้อยๆเราก็ได้เห็นหิมะถึงแม้เราอาจจะขึ้นไปมองไม่เห็นทิวทัศน์เลยก็ตาม ที่จุดชมวิวก็เต็มไปด้วยผู้คนที่มีจุดประสงค์เดียวกัน บางคนตั้งกล้องกันเป็นมืออาชีพเลยทีเดียว ระหว่างที่รอฟ้าเปิด ก็จะมีหลายๆที่ไปถ่ายรูปกับป้ายแสดงถึงการมาถึง Poon hill เป็นจุดยอดนิยมจริงๆขนาดเราไปครั้งที่ 2 ก็ไม่วายจะขอแชะซักภาพ เอาความฟินไว้ก่อน ทิวทัศน์ที่สวยงามก็พอมองเห็นบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่แต่ก็ยังดีกว่าปีที่แล้วที่ไม่เห็นอะไรเลย ขากลับเดินลงซิคะ บางช่วงหิมะละลายพื้นก็มีแฉะบ้าง แต่ก็ชิวๆเดินไปด้วยถ่ายรูปไปด้วย เล่นหิมะไปด้วย ฟินฝุด ขอบคุณที่หิมะตกน้า (ถึงแม้จะผ่านช่วงเลวร้ายมา) ก็คุ้มและหายเหนื่อยจริงๆ
             
 (ข้างทางหลังจากที่หิมะตกเมื่อคืน)
 (ใกล้จะถึงแล้วนั่นไงจุดชมวิว Poon hill)
 (และแล้วเราก็มาถึงพี่ใหญ่ของเราขอแชะก่อนเลย)
 (ก่อนกลับซักภาพหนาวจริงๆ)
(หิมะบนดอกไม้ก็สวยไปอีกแบบ ฟินอะ)
                

การจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์(New Zealand Curriculum)


โครงสร้างทางการศึกษา
นิวซีแลนด์เปนประเทศที่ตั้งอยูบนเกาะทางตอนใตของประเทศออสเตรเลีย    มีประชากรประมาณ 3  ลาน 6 แสนคน พลเมืองมี 2 กลุมใหญ คือ ชนพื้นเมืองเรียกวา เมารี และชนผิวขาวซึ่งเปนผูอพยพมาจากยุโรป
การจัดการศึกษานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญา การศึกษาเพื่อชีวิตภายใตัหลักการ การกระจายอำนาจทาง การศึกษา (Decentralization of Education) การมีสวนรวมของประชาชน ( A Charity Communication) และการตรวจสอบและถวงดุลย (Check and Balance)”




นิวซีแลนด์เปนประเทศหนึ่งที่ไดชื่อวาประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาเปนอยางมาก โดยจุดเดนของความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา คือ การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาลงสูสถานศึกษา การยกเลิกระบบการบริหารการศึกษาแบบเดิม  แลววางรูปแบบในการบริหารการศึกษาในรูปแบบใหม   การให้ประชาชนและชุมชนเขามามีสวนรวมและกำหนดแนวทางในการบริหารการศึกษา
ในเรื่องของการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา   มีการลดขั้นตอนทางการบริหารเหลือเพียง   2 ระดับ  คือ ระดับกระทรวง มีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เปนหนวยบริหารงานกลางของกระทรวง มีหนาที่เกี่ยวกับการเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาทุกระดับ จัดสรรงบประมาณสนับสนุน สงเสริมและประสานงานใหการจัดการศึกษาเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและเกิดประสิทธิผล และระดับสถานศึกษา สถานศึกษาทุกระดับตั้งแตระดับประถมศึกษาจนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย  จะมีความเปนอิสระในการจัดการศึกษาของตนเอง ในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน  (Board of Trustees)   เปนองคกรบริหารและมีอาจารยใหญ (Principal)      เปนผูบริหารโรงเรียน  ซึ่งมาจากการจางโดยการสรรหาและ แตงตั้งจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียน



โครงสร้างการบริหารการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์





หลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับ


รัฐบาลกำหนดนโยบายทางการศึกษา ซึ่งเรียกว่า แนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา ( National Education Guidelines )ขึ้น กระทรวงศึกษาธิการนำนโยบายดังกล่าวมากำหนดเป็นกรอบหลักสูตรแห่งชาติ ( National Education Framework ) แล้วส่งให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติในการจัดการศึกษาต่อไป
แนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1989 มีเนื้อหาสาระดังนี้
  1. นักเรียนทุกคนต้องได้รับการศึกษาที่ได้มาตรฐานสูงสุด
  2. ทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา
  3. ทุกคนได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ เพื่อความสามารถในการแข่งขันกับสังคมโลก
  4. เด็กทุคนต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ตั้งแต่พื้นฐานในครอบครัว
  5. ทุกคนต้องได้รับการศึกษาที่กว้างขวาง ครอบคลุมทุกสาขาวิชา
  6. มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน
  7. เด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการดูแล และสนับสนุนที่เหมาะสม
  8. ต้องมีแหล่งวิชาการ และการเตรียมการที่ดี
  9. ส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชนเผ่าเมารี
  10. มีความนับถือชาติ เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของชาวนิวซีแลนด์


หลักสูตรทางการศึกษา
 
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศนิวซีแลนด์ได้กำหนดกรอบหลักสูตรแห่งชาติ ( New Zealand Curriculum Framework ) ให้สอดคล้องกับแนวทางแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา  โดยประกอบด้วย  การเรียนรู้ 7 สาขาทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ 8 ข้อ และเจตคติและค่านิยมที่ประชากรพึงมี
หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในประเทศนิวซีแลนด์  แบ่งออกเป็น  3 ระดับ

นิวซีแลนด์เน้นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน  และเรียนรู้ในการปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง


รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ประชากรของนิวซีแลนดที่มีอายุ 15 ปขึ้นไป มีอัตราการรูหนังสือสูงถึงรอยละ 99 (สามารถอานและเขียนได : ขอมูลป ค.ศ. 1980) การศึกษาภาคบังคับของนิวซีแลนด์ยึดอายุเปนเกณฑ การเลื่อนชั้นเปนไปตามอายุ ทุกคนจะตองเขาเรียนตั้งแตอายุ 6 ป จนถึงอายุ 16 ป (ขอมูลจาก Structure of the Compulsary Schools in New Zeland) จึงจะออกจากโรงเรียนได   ซึ่งรวมแลวจะตองใชเวลาเรียนในโรงเรียนอยางนอย 12 ป แตการเรียกชื่อระดับชั้นตางๆแตกตางกับที่ใชกันโดยทั่วไปในประเทศอื่น  โดยมีการจัดระดับและเรียกชื่อ ดังนี้
  1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (early childhood education)  เปนการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 3-4 ขวบ มีรูปแบบในการจัดหลายรูปแบบ ไดแก
    • โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten)
    • ศูนยเด็กเลน (Playcenter)
    • ศูนยดูแลและสอนภาษาเด็กเล็กสำหรับชาวเมารี (Te Kohanga Reo)
    • ศูนยเด็กกอนวัยเรียน (Child center)
  2. การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา เปนการศึกษาสำหรับนักเรียน อายุ 5-10 ป โดยชั้นเรียน สำหรับเด็กอายุ 5 -6 ป เรียกวา Junior 1 และ Junior 2 ตามลำดับ สวนนักเรียนอายุ 7-10 ป  เรียกว่า ระดับ Standard 1-4 ตามลำดับ โรงเรียนประถมศึกษาบางแหงมีชั้นเรียนที่มีนักเรียนอายุ 11 - 12 ป ซึ่งเปนนักเรียนระดับมัธยมศึกษารวมอยูดวย  ระดับนี้เรียกวา Form 1 และ Form 2 ในบางโรงเรียนมีการจัดเฉพาะ ชั้น Form 1 และ Form 2 ตางหาก ซึ่งจะเรียกโรงเรียนประเภทนี้วา Intermediate School
  3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา  เปนการศึกษาสำหรับนักเรียนอายุ 11-16 ป  โดยโรงเรียนบางแหง     เปดสอนตั้งแตระดับมัธยมศึกษาตอนตน ซึ่งไดแก นักเรียนอายุ 11-12 ป แตบางแหงเปดสอนเฉพาะนักเรียนอายุ 13-16 ป  เรียนในชั้น Form 3 - Form 6 ซึ่งเรียกวา ระดับ High School
  4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education) การศึกษาระดับนี้จัดโดยสถาบันฝกอาชีพ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย การจัดการศึกษาของสถาบันฝกอาชีพชั้นสูงและวิทยาลัยนั้น  สวนใหญเนนการฝกทักษะอาชีพชั้นสูง  การเสริมสรางพัฒนาการทาง ความรูเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเปนอยูของนิวซีแลนดทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สวนการศึกษาในมหาวิทยาลัยมุงใหความรู้  ทักษะการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกตที่พัฒนาประเทศ


ตารางแสดงอายุและระดับชั้นเรียนของนักเรียนในประเทศนิวซีแลนด


อายุ ระดับชั้น
จบ Form 6 และมีอายุ 25 ปขึ้นไป หรือ มหาวิทยาลัย , วิทยาลัย
สอบผาน Form 7 สถาบันฝกอาชีพชั้นสูง หรือสารพัดชาง
17 Form 7 *  เตรียมเขามหาวิทยาลัย
16 Form 6    ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
15 Form 5 *  (Senior or Secondary School)
14 Form 4
13 Form 3
12 Form 2    ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
11 Form 1  (Intermediate School)
10 Standard 4
9 Standard 3
8 Standard 2  ระดับประถมศึกษา
7 Standard 1  (Primary School)
6 Junior 2
5 Junior 1
4 Early childhood  ระดับกอนประถมศึกษา
3 Education


หมายเหตุ
1)  ในการเลื่อนระดับชั้นใชวิธีการเลื่อนตามกลุมอายุ ไมมีการสอบอยางเปนทางการเพื่อเลื่อนชั้น
2)  Form 5 และ Form 7    มีการสอบโดยใชขอสอบกลางของประเทศ   โดย Form 7   เปนการสอบเพื่อเรียนตอในมหาวิทยาลัย
3)  การแยกระดับโรงเรียนไมมีการแยกกันอยางตายตัวโรงเรียนประถมศึกษาสวนใหญมีการสอนระดับกอนประถมศึกษา และมีหลายแหงที่เปิดสอนชั้น Form 1 Form 2 หรือ ระดับ Intermediate รวมอยูดวย ซึ่งโรงเรียนแตละแหงมีอิสระที่จะพิจารณาเปดเรียนถึงระดับใดก็ได้
4)  การศึกษาภาคบังคับ อายุระหวาง 6-16 ป และหากนักเรียนคนใดจบ Form 5 แลว     หากอายุยังไมครบ 16 ป จะตองเรียนชั้น Form 6 ตอ